หน้าแรก มาตรา7  หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
(1) โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน
(2) สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน
        (3) สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร หรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
        (4) กฎ  มติคณะรัฐมนตรี  ข้อบังคับ  คำสั่ง  หนังสือเวียน  ระเบียบ  แบบแผน นโยบาย หรือการตีความ  ทั้งนี้ เฉพาะที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง
        (5) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อมูลข่าวสารใดที่ได้มีการจัดพิมพ์เพื่อให้แพร่หลายตามจำนวนพอสมควรแล้วถ้ามีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา โดยอ้างอิงถึงสิ่งพิมพ์นั้นก็ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติวรรคหนึ่งแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐรวบรวมและจัดให้มีข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่งไว้เผยแพร่เพื่อขายหรือจำหน่ายจ่ายแจก ณ ที่ทำการของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นตามที่เห็นสมควร
 
ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7
  • ข้อมูลข่าวสารอื่น ม.7(5)
  หลักการและเหตุผล ของ พรบ.ข้อมูลข่าวสาร
ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9

    ในระบอบประชาธิปไตย การให้ประชาชนมีโอกาสกว้างขวางในการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อที่ประชาชนจะสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูกต้องกับความเป็นจริง อันเป็นการส่งเสริมให้มีความเป็นรัฐบาล

โดยประชาชนมากยิ่งขึ้น สมควรกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยมีข้อยกเว้นอันไม่ต้องเปิดเผยที่แจ้งชัดและจำกัดเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่หากเปิดเผยแล้วจะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติหรือต่อประโยชน์ที่สำคัญของเอกชน ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาระบอบประชาธิปไตยให้มั่นคงและจะยังผลให้ประชาชนมีโอกาสรู้ถึงสิทธิหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะปกปักรักษาประโยชน์ของตนได้อีกประการหนึ่งด้วย ประกอบกับสมควรคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการไปพร้อมกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

  • ผลการพิจารณาฯ ม.9(1)
  • นโยบายหรือการตีความ ม.9(2)
  • แผนงาน โครงการ งบประมาณ ม.9(3)
  • คู่มือหรือคำสั่ง ม.9(4)
  • สิ่งพิมพ์มาตรา 7 วรรคสอง ม.9(5)
เจตนารมณ์หรือวัตถุประสงค์ของกฎหมาย
  • สัญญาสัมปทาน ม.9(6)

เจตนารมณ์หรือวัตถุประสงค์ของการจัดให้มี พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 คือ

1. รับรองสิทธิได้รู้ หรือได้รับทราบของประชาชน (Right to Know) ภายใต้หลักการ “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น”  

    1.1 การปกป้องประโยชน์ส่วนบุคคล

    1.2 การปกป้องประโยชน์ส่วนสาธารณะ

2. การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารสำคัญภายใต้หลักการ “ความจำเป็นในการคุ้มครอง” คือ

    2.1 การคุ้มครองความลับของทางราชการ โดยมีระเบียบกำหนดไว้แน่ชัดว่าข้อมูลข่าวสารใดจะกำหนดชั้นความลับได้บ้าง

    2.2 การคุ้มครองประโยชน์ที่สำคัญของเอกชน เช่น ความลับทางการค้าสูตรผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีการผลิต ฯลฯ

    2.3 การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ภายใต้หลักการ “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น”

         ? มิให้มีการละเมิดซึ่งจะกระทบต่อสิทธิผลประโยชน์ส่วนบุคคลและความเป็นส่วนตัว (Privacy)

  • มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมายฯ มาตรา 9 (7)
 
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พรบ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
สิทธิรับรู้และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ
สาระสำคัญและขอบข่าย
พรบ.เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  
ระบบสารสนเทศกฎหมาย/ระเบียบ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ระเบียบกฎหมายและหนังสือเวียน

มาตรา 58 บัญญัติว่า “บุคคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”

 
แบบฟอร์ม / แบบสำรวจ
คำขอข้อมูลข่าวสาร
หนังสือร้องเรียน  
หนังสืออุทธรณ์  
แบบสำรวจความพึงพอใจ  
แบบรับฟังความคิดเห็น (online)  
   
ข้อมูลของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชัยภูมิ  
 
 
 
 
 
 
 
   
   
 

 

 


-top-